วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตักบาตรเทโว ในงานออกพรรษา ที่อุทัยธานี


ประเพณีตักบาตรเทโว มีปรากฏอยู่ในพุทธตำนาน เรื่อง “เทโวโรหณสูตร” ประเพณีตักบาตรเทโว มาจากคำว่า “เทโวโรหณะ” การเสด็จลงจากสวรรค์ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่มนุษย์โลก จากพุทธตำนานดังกล่าว พุทธศาสนิกชนในจังหวัดอุทัยธานีจึงได้ร่วมกันจัดงาน เป็นประเพณีสืบต่อกันมาช้านาน โดยจะมีพระภิกษุสงฆ์จากทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานี จะมาชุมนุมกัน ณ ยอดเขาสะแกกรัง เพื่อลงมารับบาตรจากพุทธศาสนิกชน โดยลงมาตามบันไดจำนวน 449 ขั้น
นอกจากนี้  ยังมีกิจกรรม อื่นๆที่น่าสนใจได้แก่ การตักบาตรทางน้ำ  การแข่งเรือพื้นบ้าน อาทิ เรือหัวใบ้ท้ายบอด การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแสดง แสง เสียง ณ บริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี

ทั้งนี้ สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ททท.  สำนักงานอุทัยธานี    โทรศัพท์ 0 56 51 4651-2 หรือ E-mail: tatuthai@tat.or.th  อบจ. อุทัยธานี 0 5651 4027, เทศบาลเมืองอุทัยธานี  0 5651 2005 ทุกวันในเวลาราชการ

ประวัติตักบาตรเทโว อุทัยธานี
เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาด้วยสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีภิกษุพวกหนึ่งจำนวนหลายรูปจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันการวิวาทมิให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงตั้งกติกาไม่พูดกัน ใครมีกิจอย่างไรก็ทำไปตามหน้าที่ วิธีนี้เรียกว่า มูควัตร คือปฎิบัติเหมือนคนใบ้ ครั้นออก พรรษาแล้วพากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลมูควัตรที่ตนปฏิบัติให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า ความประพฤติเช่นนั้นเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาสัตว์แม้จะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขกัน แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฎิบัติดังนั้นต่อไป ถ้าปฎิบัติจะปรับโทษเป็นอาบัติ ทุกกฎ จากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบสามเดือนปวารณาแก่กัน คือว่ากล่าวตักเตือนข้อผิดพลั้งตามที่ได้เห็นหรือได้ยิน คำปวารณามีใจความว่า "ท่านทั้งหลายข้าพเจ้า ขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นเองก็ดี ด้วยได้ฟังมาก็ดี ด้วยสงสัยก็ดีขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวต่อข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสำนึกได้จัดทำการแก้ตัวเสีย" ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงถือบุคคลเป็นใหญ่ แต่พระองค์ทรงถือพระธรรมคือ ความถูกความควรเป็นสำคัญ เมื่อรู้เห็น ความไม่ดีไม่งามของกันและกันแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อความบริสุทธิ์ในหมู่สงฆ์และเป็นความบริสุทธิ ์ของพระพุทธศาสานา
         ด้วยเหตุนี้ วันอออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษาตามเวลาที่พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนด จึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งของไทย
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันออกพรรษา
. บำเพ็ญกุศล อาทิ ทำบุญใส่บาตร จัดดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชาพระที่วัด ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น
. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
๓.จัดนิทรรศการ กิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่เกี่ยวกับวันออกพรรษา
๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติ


ประวัิติความเป็นมา

ไม่มีความคิดเห็น: