วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 อำนาจเจริญแม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่เงียบสงบแต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชมทั้งวัดวาอาราม ธรรมชาติที่สวยงาม และหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่น่าซื้อเป็นของใช้ ของฝาก จังหวัดอำนาจเจริญประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอลืออำนาจ

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับอำเภอเขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทางประมาณ 704 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-อำนาจเจริญ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หมอชิต 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 2852-66 www.transport.co.th

สำหรับผู้ที่ใช้บริการทางเครื่องบิน และรถไฟจะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดอำนาจ เจริญอีกประมาณ 75 กิโลเมตร

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอลืออำนาจ 22 กิโลเมตร
อำเภอปทุมราชวงศา 32 กิโลเมตร
อำเภอหัวตะพาน 35 กิโลเมตร
อำเภอพนา 47 กิโลเมตร
อำเภอชานุมาน 78 กิโลเมตร
อำเภอเสนางคนิคม 81 กิโลเมตร

แหล่งข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น: