วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จังหวัดนราธิวาส

แต่เดิม บ้านบางนรา หรือ มะนาลอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. 2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ และ พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ "นราธิวาส" แปลว่า "ที่อยู่ของคนดี" ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสาม เหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อนและซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเท วัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษายาวีเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาษายาวีมีต้นกำเนิดจากภาษามาลายูซึ่งเป็นภาษาพูดและนำสระและพยัญชนะจากภาษา อาหรับมาใช้ประกอบกัน

จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 4,475.43 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ทิศเหนือจดจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดจังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย และทิศใต้จดรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

การเดินทาง
จังหวัดนราธิวาส การเดินทางสามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน
รถยนต์ ระยะทาง 1,149 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง-หาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 42 เข้าสู่จังหวัดปัตตานี-นราธิวาส สอบถามเส้นทางและแจ้งเหตุตำรวจทางหลวง โทร. 1193

รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถกรุงเทพฯ-นราธิวาส-สุไหงโกลก ทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2435 1193-200, 0 2434 7192 (ปรับอากาศ) 0 2434 5557-8 (ธรรมดา) สถานีขนส่งนราธิวาส โทร. 0 7351 1845 สถานีขนส่งสุไหงโกลก โทร. 0 7361 2045 www.transport.co.th

รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพฯ - ตันหยงมัส (นราธิวาส) -สุไหงโกลก ทุกวันทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 สถานีรถไฟสุไหงโกลก โทร. 0 7361 1162, 0 7361 4060 www.railway.co.th

เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริการเที่ยวบิน กรุงเทพ-ภูเก็ต-นราธิวาส ทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2280 0060 สาขานราธิวาส โทร. 0 7351 1161, 0 7351 3090 www.thaiairways.com อำเภอสุไหงโกลก โทร. 0 7361 2132, 0 7361 1417 สนามบิน โทร. 0 7356 5157

การเดินทางในตัวจังหวัด
- จากสนามบินมีรถตู้ไปสุไหงโกลก 140 บาท ด่านตาบา 140 บาท นราธิวาส 50 บาท
- รถโดยสารประจำเส้นทางต่างๆ มักจะแวะมารับผู้โดยสารบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ เวลาบริการประมาณ 06.00 - 17.00 น. บริเวณแยกหอนาฬิกา เป็นท่าจอดรถตู้วิ่งบริการสาย นราธิวาส-สุไหงโกลก และ นราธิวาส-ตากใบ ออกทุกครึ่งชั่วโมง วิ่งบริการระหว่างเวลา 05.00-17.00 น.

ระยะทางจากจังหวัดนราธิวาสไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ปัตตานี 92 กิโลเมตร
ยะลา 128 กิโลเมตร
สงขลา 194 กิโลเมตร

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
จะแนะ 47 กิโลเมตร
เจาะไอร้อง 31 กิโลเมตร
ตากใบ 33 กิโลเมตร
บาเจาะ 28 กิโลเมตร
ยี่งอ 18 กิโลเมตร
ระแงะ 24 กิโลเมตร
รือเสาะ 48 กิโลเมตร
แว้ง 83 กิโลเมตร
ศรีสาคร 65 กิโลเมตร
สุคิริน 112 กิโลเมตร
สุไหงโกลก 63 กิโลเมตร
สุไหงปาดี 49 กิโลเมตร

แหล่งข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น: