วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ับั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่หาคำอธิบายไม่ได้




บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน

มากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่จังหวัดหนองคาย หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอรัตนวาปี วัดอาฮง อำเภอบึงกาฬ วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม

ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ

นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ มลรัฐมิสซูรี และ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง

ทฤษฎีและข้อสมมติฐาน

ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ณ วันนี้ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็มีทฤษฎีและข้อสมมติฐานอยู่หลายทฤษฏี เช่น

นพ.มนัส กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย อธิบายว่า บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อน คือ ก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนและก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญ ซึ่งก๊าซร้อนชนิดนี้ ก็คือก๊าซชีวภาพที่ระเบิดจากหล่มอินทรียวัตถุใต้ท้องน้ำหรือในดินที่เปียก โดยมีแบคทีเรียกลุ่มมีเทนฟอร์มเมอร์ซึ่ง ดำรงชีวิตได้ในสภาพไร้ออกซิเจนเท่านั้น ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง เป็นตัวช่วยผลิตก๊าซ แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะได้ก๊าชมีเทนในปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิว ทรายอย่างน้อย 1.45 เท่า ของความดันบรรยากาศ เมื่อไปเจอความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตรทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าความเป็นกรดและด่างของ น้ำในแม่น้ำโขงก็จะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักก๊าซมีเทน ซึ่งคุณหมอได้เคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และค้นพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา คุณหมอมนัสบอกว่าในคืนวันนั้นจะมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก[4]

ส่วนอีกสมมติฐานนึงคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง โดยสมชาติ วิทยารุ่งเรือง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ได้หาวิธีการทำบั้งไฟพญานาคในแบบฉบับของเขามาได้ 8 วิธี โดยนพ.มนัส กนกศิลป์ ได้ออกมาถึงเหตุผลที่ว่า บั้งไฟพญานาคไม่น่าที่จะเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ได้ตั้งข้อสมมติฐานแย้งเช่น

    * คนที่กระทำต้องแข็งแรงมากเพราะกระแสน้ำมันแรงมาก ในขณะที่คนธรรมดากอดเสาอยู่ในน้ำยังทรงตัวไม่อยู่
    * นพ.มนัส กนกศิลป์ ได้เริ่มศึกษาเมื่อปี 2522 ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมาแล้ว 120 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้องเกิดขึ้นนานกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ทำคนนี้ต้องมีอายุมากกว่า 104 ปีแล้วต้องทำด้วยตัวเองจึงตัวเองจึงจะคุมความลับได้
    * การเกิดของบั้งไฟ เกิดขึ้น 52 ตำแหน่งประมาณ 1,500 – 2,500 ลูก คนที่ทำต้องมีเงินจ้างคนไปประดาน้ำทำเรื่องนี้
    * ทานกระแสน้ำที่ลึกมากและกลัวที่จะโดนเอ็ม 16 ของหน่วย นปข.ซึ่งเขาก็บอกอีกว่ามันขึ้นเฉียดเรือเขาเลย

เป็นต้น



ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น: